เมื่อใดที่มีการสูญเสียบุคคลในครอบครัว ทายาทต้องดำเนินการในการจัดการทรัพย์สินของผู้ตาย ทุกคนจึงควรศึกษากฎหมายมรดก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ลดภาระค่าใช้จ่าย และเตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ
นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า “บอร์ดเกมกฎหมายมรดก ” เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตของทีมนักศึกษาวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ระดับภาค (ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร) จากงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีความมุ่งมั่นในการพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนการสอน โดยเน้นให้ นักศึกษา อาชีวศึกษา ได้คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐาน สามารถนำไปใช้งานได้จริง ตอบโจทย์ผู้ใช้ในชุมชน สังคม และภาคอุตสาหกรรม
น.ส.อธิษฐ์ฎา เสี้ยวศรีชล หรือ น้องปิ่น นักศึกษา ชั้นปวส. 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ เล่าว่า จากคดีความขัดแย้งภายในครอบครัวเรื่องมรดกตกทอด ตามพินัยกรรมต่าง ๆ เมื่อการแบ่งปันกันไม่ลงตัว โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รู้ในข้อกฎหมาย แต่คิดกันเองว่าตนสมควรจะต้องได้รับตามสัดส่วนนี้ ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งภายในลามนำไปสู่การฟ้องร้อง หรือทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต
ด้วยเหตุนี้ ตนและเพื่อนๆ จึงมีแนวคิดที่จะทำสื่อการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจกฎหมายมรดกแบบง่ายๆ โดยมี ครูสุวรรณี ธรรมรัตน์ธารา ครูสาขาวิชากฎหมาย เป็นครูที่ปรึกษา โดยจัดทำในรูปแบบบอร์ดเกมที่พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ช่วยสร้างบรรยากาศเพื่อให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกและกระตือรือร้น โดย “บอร์ดเกมกฎหมายมรดก” เป็นเกมแก้ปัญหา เน้นการใช้ความคิด ค้นหาคำตอบที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้เรียนรู้กฎหมายมรดก ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก ลักษณะ 3 พินัยกรรม และลักษณะ 4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
โดยบอร์ดเกมถูกออกแบบเป็น 3 ศาลา แต่ละศาลาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมรดกอย่างสอดคล้องกันเป็นเรื่องราว ตั้งแต่ศาลา 1 “พินัยกรรม” ให้ความรู้ในรายละเอียดประเภทของพินัยกรรม การจัดทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ศาลา 2 “ทายาทโดยธรรม” ให้ความรู้เรื่องสิทธิในการรับมรดกของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย (กรณีที่ไม่ได้จัดทำพินัยกรรมไว้) และศาลา 3 “การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล” ทำให้ทราบถึงขั้นตอนการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล
บอร์ดเกมนี้เหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีอายุในช่วง 15 – 20 ปี มีผู้เล่นได้ตั้งแต่ 2 – 5 คน โดยอุปกรณ์ในการเล่นจะมีแผ่นบอร์ดเกม จำนวน 1 แผ่น การ์ดเกม จำนวน 4 ชุด และตัวเดิน จำนวน 5 ตัว โดยผู้เล่นจะต้องเตรียมโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จำนวน 2 เครื่อง เพื่อใช้ศึกษาความรู้กฎหมายมรดกและข้อมูลความหมายของแต่ละตัวเดิน
โดยมีกติกาคือหากเงินที่ใช้เล่นเกมหมด ให้ยืมจากผู้เล่นคนอื่นได้ แต่ต้องหยุดเดิน 1 ครั้ง และเมื่อถึงปลายทาง ถ้าจำนวนลูกเต๋าที่ทอยเกินช่องสุดท้าย ให้ถอยหลังกลับตามจำนวนที่ทอยได้ ซึ่งผู้ชนะคือ คนที่เดินถึงจุดหมายปลายทางคนแรกบนดินแดนแห่งความตาย และผู้เล่นทุกคนจะต้องเล่นจนกว่าจะจบเกม ซึ่งผู้ชนะลำดับถัดไปจะวัดจากมูลค่าของเงินที่ถืออยู่ โดย “บอร์ดเกมกฎหมายมรดก” เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการศึกษาและปัญญาด้วยตนเอง ผ่านบอร์ดเกมกฎหมาย ผู้เล่นจะได้เรียนรู้กฎหมายมรดกที่สามารถจัดทำและดำเนินการด้วยตนเองได้ ด้วยการลงมือปฏิบัติตามกิจกรรมแก้ปัญหาในบอร์ดเกม ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย การเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกมกฎหมาย จึงช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในการจัดการทรัพย์สินของตนและผู้เสียชีวิต เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ ทั้งยังได้ฝึกทักษะการคิด ค้นหาคำตอบที่แฝงความรู้และธรรมะ ทั้งนี้ หากสนใจ “บอร์ดเกมกฎหมายมรดก เสียดาย ตายแล้ว ไม่ได้เล่น” ติดต่อได้ที่โทร 084-541-0855 หรือวิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
"การสูญเสีย" - Google News
June 25, 2020 at 11:01AM
https://ift.tt/3fT07J9
เจ๋ง! นศ.อาชีวะประดิษฐ์ “บอร์ดเกมกฎหมายมรดก” สร้างความรู้ -ลดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว - ผู้จัดการออนไลน์
"การสูญเสีย" - Google News
https://ift.tt/2TYnNTT
No comments:
Post a Comment